https://108okclip.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 108 OkClip

*** โพสต์แนะนำ 108 OkClip @ My blogger story ***

Ep.3 วิธีปรับแต่ง+ทำปกช่องยูทูป YouTube Channel @การสร้างรายได้เสริม [ทำคลิป VDO.ลงช่องยูทูป]

เมื่อเราเปิดช่องยูทูป YouTube Channel   ด้วยชื่อช่องที่เป็นเอกลักษณ์ น่าสนใจ ! น่าติดตามดูชมกันแล้ว ..... ต่อมาก็จะต้องมีการปรับแต...

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การสร้าง Content ชื่อวิดีโอที่น่าสนใจ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การสร้าง Content ชื่อวิดีโอที่น่าสนใจ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Ep.4 วิธีการตั้งค่าช่องยูทูปใหม่ ! YouTube CH. @การสร้างรายได้เสริม [ทำคลิป VDO.ลงช่องยูทูป]

วิธีการตั้งค่าช่องยูทูปใหม่ ! YouTube Channel
เมื่อได้ลงชื่อ Login เข้าใช้งาน ด้วยบัญชีกูเกิลแล้ว
ให้คลิก!ไปที่ช่องของคุณ My Channel เพื่อตั้งค่าฯ

@   ทำการอัปโหลดรูป เพื่อทำหน้าปกช่อง และตั้งชื่อช่อง
 --> ดู ! วิธีทำง่ายๆ ใน ep. 3 ...ให้เลื่อนลงบล็อกถัดไป...

@   ให้พิมพ์คำอธิบายเกี่ยวกับช่องของคุณ
 ----> มีวิธีทำเพิ่มเติม..ท้ายบทนี้ !.....

@   ฝึกบันทึกคลิปวิดีโอ -->ตัดต่อ/ใส่คำบรรยาย/เสียงดนตรี(ไม่มีลิขสิทธิ์)

@   บันทึกไฟล์วิดีโอ แล้วอัปโหลดขึ้นช่องยูทูป 

@   สร้างคอนเทนท์ Content /ชื่อหัวข้อเรื่องคลิป ให้โดนใจ!และน่าติดตาม







วิธีการ สร้างช่องยูทูบของคุณเอง



1
การสร้างช่องของตัวเอง

  1. 1
    เข้าเว็บไซต์ยูทูบและล็อกอินด้วยบัญชีผู้ใช้งานกูเกิ้ล. หลังจากที่คุณล็อกอินแล้ว คุณจะเห็นชื่อหรือชื่อผู้ใช้งานของตัวเองด้านเมนูมุมซ้ายบน คลิ้กที่ช่องของคุณเพื่อเข้าสู่หน้าผู้ใช้งาน
  2. 2
    ใส่รูปปกช่อง (Channel Art). รูปนี้จะเป็นรูปที่คนอื่นเห็นอยู่ตรงด้านบนของช่องยูทูบของคุณ ซึ่งระบบจะแสดงตัวอย่างให้ดูก่อนว่า รูปจะออกมาเป็นอย่างไรเมื่อดูจากหน้าเว็บไซต์ บนทีวี และอุปกรณ์มือถือต่างๆ
    • พยายามเลือกรูปที่ดึงดูดความสนใจจากคนดูมากๆ รูปหน้าปกของช่องจะช่วยให้คุณโดดเด่นจากช่องอื่นๆ ที่มีอยู่ในยูทูบ
    • ใส่ชื่อช่องของคุณ หรือข้อความประกอบลงไปในรูปปกช่องด้วย จะช่วยให้คนดูจำชื่อของคุณได้แม่นยิ่งขึ้น
    • ยูทูบแนะนำว่า รูปที่ใช้ในการนี้ ควรจะมีขนาด 2560 x 1440 พิกเซล
    • เปลี่ยนรูปอย่างสม่ำเสมอ เว้นแต่คุณจะใช้รูปเป็นโลโก้ของแบรนด์คุณให้คนจดจำ พยายามเปลี่ยนรูปหน้าปกช่องอยู่เนืองๆ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบวิดีโอที่คุณนำเสนอ เช่น หากคุณนำเสนอวิดีโอประเภทคลิปวิดีโอขำขัน ก็ควรจะใช้รูปหน้าปกช่องให้เชื่อมโยงกับวิดีโอล่าสุดของคุณ
  3. 3
    อธิบายเกี่ยวกับช่องของคุณ. ใส่คำอธิบายเกี่ยวกับช่องของคุณเอาไว้ เพื่อให้คนดูรู้ว่า พวกเขาจะได้ชมวิดีโอประเภทไหน การใส่หรือแก้ไขคำอธิบายของช่อง ทำได้โดยคลิ้กคำว่า “เกี่ยวกับ” บนแถบหน้าต่างหลักของช่อง จากนั้น คลิ้กที่ปุ่ม ”+คำอธิบายของช่อง”
    • คุณสามารถใช้ส่วนอธิบายนี้ ในการใส่ลิ้งค์ไปยังเว็บไซต์อื่นๆ ของคุณ หรือเพื่อคอยอัพเดทข่าวสารของช่องคุณ รวมถึงบรรยายได้ด้วยว่าคนที่ปรากฏในวิดีโอเป็นใคร และใส่ลิ้งค์วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
  4. 4
    ตั้งชื่อช่องของคุณ. ลองอ่านคำอธิบายช่องและลักษณะวิดีโอที่คุณอยากนำเสนอ จากนั้น ลองตั้งชื่อให้สอดคล้องกัน
    • ตัวอย่างเช่น หากวิดีโอของคุณเกี่ยวกับการถักหมวกไหมพรมสวยๆ คุณอาจจะตั้งชื่อว่า “ถักอย่างภาคภูมิ” “นักถักขั้นเทพ” หรือ “ไหมพรมห่มศีรษะ” เป็นต้น

ส่วน2
พัฒนาเนื้อหา

  1. 1
    สำรวจเนื้อหาของคนอื่นๆ. ขั้นตอนแรกของการใส่เนื้อหา ก็คือการตัดสินใจก่อนว่า คุณต้องการจะนำเสนออะไรให้คนอื่นดู คนทั่วไปใช้ยูทูบด้วยวัตถุประสงค์อันหลากหลาย ตั้งแต่การดูมิวสิควิดีโอ ไปจนถึงคลายเครียดกับคลิปจากละครขำๆ รวมถึงเพื่อเรียนรู้ทักษะบางอย่าง และอีกมากมาย พยายามนึกดูให้ดีว่า คุณอยากนำเสนออะไรที่คนดูไม่เคยได้ดูที่ไหนมาดู
  2. 2
    ค้นหาจุดแข็งของตัวเอง. หากเพื่อนๆ คุณต่างบอกว่าคุณเป็นคนตลก คุณอาจลองทำวิดีโอตลกดู หากคุณเก่งด้านร้องเพลง ก็ลองอัพโหลดวิดีโอที่ตัวเองกำลังร้องเพลงก็ได้ กุญแจสำคัญของการสร้างเนื้อหา คือ การทำให้คนดูอยากกลับเข้ามาชมวิดีโอของคุณอีก
  3. 3
    ลองรีวิวสินค้าหรือบริการ. การรีวิวอะไรบางอย่าง เป็นไอเดียที่ดีในการดึงดูดคนดู โดยเฉพาะหากคุณรีวิวสิ่งที่คนดูกำลังมองหา คนเรามักต้องการรับชมรีวิวคุณ ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ซึ่งจำแนกได้เป็นหลายประเภท เช่น:
    • อัลบั้มใหม่
    • อุปกรณ์ล่าสุด
    • ภาพยนตร์และทีวี
    • วิดีโอเกมส์
    • หนังสือ
    • ร้านอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ
    • ธุรกิจและบริการ
  4. 4
    จัดทำวิดีโอบ่อยๆ. พยายามสร้างเนื้อหาใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่เนื้อหาจะได้หลั่งไหลพรั่งพรู ไปนั่งอยู่ในใจคนดูอยู่เรื่อยๆ มันยังเป็นการพัฒนาทักษะในเรื่องที่คุณอัพโหลดให้ดีขึ้น จนกลายมาเป็นสไตล์ของคุณเอง
    • ลองศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการทำไฟล์วิดีโอบ้าง หากคุณพูดหน้ากล้อง ลองตรวจสอบดูด้วยว่า กล้องนิ่งหรือได้ยินเสียงพูดของคุณชัดเจนหรือไม่ คุณอาจจะมีวิดีโอสุดเจ๋งกว่าใคร แต่คนดูจะไม่อยากดูต่อไปเลย หากพวกเขาได้ยินเสียงหรือเห็นภาพวิดีโอคุณไม่ชัด
  5. 5
    ฝึกตัดต่อวิดีโอ. วิดีโอที่มีการตัดต่ออย่างดี จะช่วยให้คนดูประทับใจมากขึ้น มากกว่าวิดีโอที่ทำแบบมั่วๆ พยายามหาเวลาศึกษาการใช้งานโปรแกรมตัดต่อวิดีโอของคุณให้ถ่องแท้ ลองศึกษาด้วยตนเองเกี่ยวกับการใช้งานเบื้องต้นก่อนก็ได้
    • มีโปรแกรมตัดต่อให้เลือกโหลดใช้ฟรีมากมายทางอินเตอร์เน็ท โปรแกรมเหล่านี้จำนวนมาก มีคุณสมบัติไม่แพ้โปรแกรมแพงๆ ของมืออาชีพที่ขายกันในท้องตลาดเลย
  6. 6
    ทำช่วงอินโทรให้น่าสนใจ. ผู้ชมส่วนใหญ่จะตัดสินใจว่า พวกเขาจะทนดูวิดีโอนั้นต่อไปหรือไม่ จากแค่ช่วงไม่กี่วินาทีแรกเท่านั้น จงพยายามทำช่วงอินโทรให้น่าสนใจและมีสาระบันเทิงคู่กัน ยิ่งผู้ชมดูวิดีโอของคุณนานเท่าไร ทางยูทูบก็จะจัดอันดับวิดีโอนั้นๆ ในการค้นหาให้สูงขึ้น
    • แสดงคลิปเรียกน้ำย่อยให้คนดูเห็นก่อนที่จะดูวิดีโอจริง
    • จงแน่ใจก่อนว่า บุคลิกท่าทางของคุณถูกนำเสนออยู่ช่วงหน้าและตรงกลางของวิดีโอ พยายามพูดกับคนดู และแนะนำวิดีโอแบบสั้นๆ บอกคนดูให้กระชับว่าพวกเขาจะได้ดูอะไรบ้าง (แต่อย่าสปอยล์ช่วงหักมุม ถ้ามี)
    • หากคุณอยากจะสร้างแบรนด์ เช่น ชื่อของคุณ หรือซีรี่ส์ที่คุณจะนำเสนอ จงแน่ใจก่อนว่า มันดูแตกต่างและดูเป็นมืออาชีพตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของวิดีโอ
    • เวลาจะสร้างวิดีโอแบบมีสาระ เช่น การรีวิวสินค้าบริการ หรือสอนทักษะ พยายามสื่อวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนตั้งแต่ช่วงแรกๆ จะช่วยป้องกันไม่ให้คนดูกดไปหาวิดีโอที่มีสาระแน่นกว่า
  7. 7
    หาประโยชน์จากปากต่อปาก. สื่อต่างๆ ในปัจจุบันพยายามสร้างกระแสในการนำเสนอสินค้าอยู่ตลอดเวลาในแต่ละปี และในทุกสินค้าบริการ ซึ่งถูกขนานนามว่า จุดกางเต็นท์ หรือ Tent-pole คุณควรลองดูโปรแกรมเนื้อหาช่องรายการของคุณ เพื่อตัดสินใจว่า จะใช้วิดีโอใดเป็นจุดปักหมุดกางเต็นท์ ในการดึงดูดคนเข้ามามุงดูกันมากๆ
    • พยายามทำวิดีโอเพื่อเชื่อมโยงไปสู่งานอีเวนต์ของคุณ เพื่อใช้ประโยชน์จากการค้นหารายละเอียดของคนดูให้มากที่สุด เวลาที่มีการพูดถึงอีเวนต์ดังกล่าวกันมากขึ้น คนดูก็จะยิ่งค้นหาวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับอีเวนต์ดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ
    • ถ่ายวิดีโอภาพบรรยากาศของงานอีเว้นต์เอาไว้ ซึ่งเป็นวิธียอดเยี่ยมในการเปิดโอกาสให้คนดูที่ไม่ได้ไปร่วมงาน ได้มีประสบการณ์เสมือนจริง
    • สร้างวิดีโอตามติดหลังอีเวนต์จบลง ใช้ช่วงเวลานี้ในการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลของสถานการณ์
    • สร้างปฏิสัมพันธ์กับคนดูตลอดช่วงอีเวนต์ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้พวกเขาอยากกลับมาดูช่องของคุณอีกเรื่อยๆ
    • ระหว่างช่วงงานอีเวนต์ใหญ่ๆ พยายามเพิ่มปริมาณเนื้อหาที่อัพโหลดให้มากขึ้น เพื่อเร่งกอบโกยคนดูใหม่ๆ การมีเนื้อหาใหม่ๆ มากขึ้น เป็นการแสดงให้คนดูเห็นว่า คุณมีความรู้และความรักในสิ่งที่คุณจัดทำขึ้น
  8. 8
    บอกเล่าเรื่องราว. ทุกวิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นสาระหรือบันเทิงอย่างเดียว จำเป็นต้องมีการเล่าเรื่องราว มันควรจะมีจุดเริ่ม ช่วงกลาง และตอบจบอย่างชัดเจน เรื่องนี้สามารถนำไปใช้ได้ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอตลก หรือวิดีโอสอนการดูแลดอกไม้ก็ตาม
    • แตกย่อยวิดีโอยาวๆ ออกเป็นตอนๆ ให้นำเสนอแต่ละแง่มุมของเนื้อหาทั้งหมดที่วิดีโอรวมต้องการสื่อ จะช่วยให้เนื้อหาไม่หนักหนาเกินไปสำหรับคนดู
  9. 9
    ใช้กล่องข้อความ. มันคือปุ่ม ซึ่งเอาไว้แสดงกล่องข้อความบนคลิปวิดีโอขณะที่เล่นอยู่ คุณสามารถใช้มันลิ้งค์ไปยังวิดีโอ ช่อง หรือเว็บไซต์อื่นๆ เป็นต้น
    • คุณสามารถใช้กล่องข้อความดังกล่าว เพื่อทำให้คนดูกดรับข้อมูลข่าวสารจากช่องของคุณได้ง่ายขึ้นด้วย
    • ใช้กล่องข้อความ ในการทำเป็นลิ้งค์ไปสู่เนื้อหาที่อัพเดทของวิดีโอเก่าๆ ก็ได้
    • กล่องข้อความดังกล่าว ยังสามารถทำหน้าที่เป็นสารบัญของวิดีโอยาวๆ เพื่อลิ้งค์ไปสู่ช่วงต่างๆ ของวิดีโอนั้น
  10. 10
    อัพโหลดวิดีโอแลกเปลี่ยนกับคนดูเป็นระยะๆ. หากคุณมีชื่อเสียงในวิดีโอด้านการสอนถักนิตติ้ง ก็ควรจะมีบางวิดีโอที่ทำขึ้นมาเพื่อพูดคุยกับคนดู ตอบคำถามยอดฮิตจากคอมเม้นต์ต่างๆ รวมถึงอธิบายวิธีกรทำงานของคุณด้วย การแสดงภาพเบื้องหลังการทำงาน จะช่วยให้คุณและคนดูเชื่อมต่อกันมากขึ้น และยังทำให้พวกเขารู้สึกว่ามีส่วนร่วมในงานของคุณ

ส่วน3
การอัพโหลดวิดีโอ

  1. 1
    อัพโหลดวิดีโอของคุณ. ล็อกอินเข้ายูทูบ และคลิ้กที่แถบวิดีโอในหน้าผู้ใช้งาน จากนั้น คลิ้กปุ่ม “+อัพโหลดวิดีโอ” เพื่อเริ่มอัพโหลดเนื้อหาของคุณ คลิ้กปุ่ม “เลือกไฟล์ที่ต้องการอัพโหลด” เพื่อเลือกไฟล์จากคอมพิวเตอร์ของคุณ หรือจะลากไฟล์ลงมาในช่องดังกล่าวก็ได้ ระบบจะทำการแปลงไฟล์และอัพโหลดวิดีโอของคุณเอง
    • หากคุณต้องการควบคุมกลุ่มเป้าหมายคนดูวิดีโอ ก็คลิ้กที่เมนูเลื่อนลง และเลือกที่ “ความเป็นส่วนตัว” จากนั้น คุณก็จะสามารถระบุชื่อผู้ใช้งานยูทูบหรืออีเมล์ของคนที่คุณต้องการให้ดูวิดีโอดังกล่าวได้ คุณสามารถส่งไปเชิญได้มากถึง 50 คนต่อหนึ่งวิดีโอ
    • หากคุณต้องการอัพโหลดวิดีโอที่มีความยาวเกิน 15 นาที คุณจะต้องทำการตรวจสอบสถานะผู้ใช้งานจากกูเกิ้ลเสียก่อน
  2. 2
    คิดคำค้นหาอย่างสร้างสรรค์. การระบุคำค้นหาวิดีโอ จะช่วยให้มันปรากฏแก่คนดูได้ง่ายขึ้นเวลาพวกเขากดค้นหา พยายามใช้คำที่เกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาวิดีโอของคุณ แต่ก็ไม่ควรใช้คำที่คนอื่นๆ ในแนวเดียวกันใช้กันจนเกลื่อนไปหมด
    • พยายามระบุคำค้นหาให้แคบลงมาหน่อย เช่น แทนที่จะระบุว่า “ร้องเพลง” พยายามระบุให้จำเพาะเจาะจง เช่น “ร้องเพลงสตริง” “ร้องเพลงสากล” หรือ “ร้องเพลงลูกทุ่ง” เป็นต้น
    • คุณสามารถระบุคำค้นหาในแบบที่คุณคิดว่า คนดูจะใส่คำนั้นๆ แต่ก็ควรให้ความหมายของคำสอดคล้องกับวิดีโอด้วย
    • ใช้คำผสมผสานแบบกว้างและเจาะจง เช่น หากคุณอัพโหลดวิดีโอเกี่ยวกับหนังสั้นตลกๆ เกี่ยวกับนินจา ก็อาจระบุคำค้นหาว่า “หนังสั้น” “นินจา” “ตลก” “ศิลปะป้องกันตัว” “หนังบู๊” “ต่อสู้” “ขำขัน” ฯลฯ
    • คุณยังอาจใช้คำค้นหาเพื่อสร้างวิดีโอชุด ด้วยการคิดค้นคำที่เป็นเอกลักษณ์และใช้คำนั้นเป็นคำค้นหาของวิดีโอในซีรี่ส์เดียวกัน จะช่วยให้คนดูคลิ้กดูมากขึ้น โดยต่อเนื่องกันมา

ส่วน4
การดูแลช่องของตัวเอง

  1. 1
    จงอัพโหลดบ่อยๆ. หากคุณต้องการมีช่องยูทูบที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องมีเนื้อหาไว้อัพโหลดวิดีโอใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง พยายามอัพเดททุกๆ สองสัปดาห์ หากจะต้องการหยุดไปเป็นช่วงเวลานานๆ ก็ควรบอกให้กลุ่มผู้ติดตามรู้ และบอกด้วยว่าจะกลับมาอัพเดทอีกครั้งเมื่อไร
    • การกำหนดเวลาอัพโหลดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้มีคนติดตามเพิ่มขึ้น ลองคิดเสมือนว่า มันเป็นรายทีวีรายการหนึ่ง ทุกคนย่อมคาดหวังรอคอยที่จะได้ชมตอนต่อไป และพวกเขาก็รู้ว่ารายการจะกลับมาอีกเมื่อไร พยายามอัพเดทข่าวสารและตารางเวลาทุกสัปดาห์หรือสองสัปดาห์
  2. 2
    มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มคนดู. สิ่งนี้จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนดูให้แน่นแฟ้นขึ้น คนดูที่รู้สึกว่า คนทำวิดีโอมีความใส่ใจต่อพวกเขา ย่อมอยากจะกลับมาดูเนื้อหารายการมากขึ้น หรืออาจบอกต่อกันไปให้ด้วย
    • ใช้เวลาสักสองสามชั่วโมงหลังจากอัพโหลดวิดีโอ ในการโต้ตอบความเห็นที่คนดูโพสท์เอาไว้ คนดูเหล่านี้ถือว่าเป็นแฟนคลับตัวจริงของคุณ เพราะพวกเขาเฝ้ารอคอยในการกลับมาของวิดีโอใหม่ๆ ที่คุณอัพโหลด แถมยังกล้าพอที่จะโพสท์แสดงความเห็นก่อนใคร จงให้เกียรติพวกเขาแล้วคุณจะเห็นตัวเลขผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    • พยายามจัดการดูแลความคิดเห็นในหน้าเพจให้มากที่สุด คุณอาจจะรู้สึกสนุกเวลาอ่านความคิดเห็นเกรียนๆ แต่การมันจะส่งผลลบต่อวิดีโอของคุณ และเป็นการไล่คนดูคนอื่นๆ ดังนั้น พยายามลบความเห็นที่ก้าวร้าวใส่คนอื่นและอาจจะแจ้งแก่ทางยูทูบให้บล๊อคผู้ใช้งานคนดังกล่าวด้วยก็ได้ จะเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีมากขึ้นให้แก่คนดูคนอื่นๆ
    • โพสท์คำถามให้คนดูร่วมตอบ พยายามถามแบบเรียบง่าย เช่น คำถามแบบ ใช่หรือไม่ หรือคำถามขอเสียงโหวต จะช่วยให้ความเห็นแย่ๆ ถูกกลบลงไป และทำให้เกิดบรรยากาศการพูดคุยที่ดีในหมู่คนดู
  3. 3
    เอาวิดีโอเก่าๆ มาเล่าใหม่. หากคุณมีวิดีโอเก่าๆ ที่คิดว่าคนดูหน้าใหม่ อาจจะยังไม่เคยได้ดู ควรแปะเอาไว้ในหน้าฟีดของคุณ เพื่อที่พวกเขาจะได้เห็นอยู่บนด้านหน้าช่องยูทูบของคุณ อาจจะช่วยให้วิดีโอเก่าๆ เหล่านั้นมีคนเข้าถึงเพิ่มขึ้น
  4. 4
    ติดตามดูช่องยูทูบของคนอื่นๆ ด้วย. คุณควรใช้เวลาล็อกอินเข้าใช้งานยูทูบให้มากที่สุด ต่อให้คุณไม่ได้มีวิดีโออัพโหลดอยู่บ่อยๆ ก็ตาม แต่คุณควรใช้เวลาไปกับการวิดีโอของคนอื่นๆ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นๆ รวมถึงเที่ยวชมคลิปประเภทเดียวกับช่องของคุณบ้าง
    • ลองแปะลิงค์ไปยังวิดีโอของคนอื่นด้วย หากมันมีความเกี่ยวเนื่องหรือส่งเสริมวิดีโอของคุณ มันยังช่วยให้ช่องยูทูบของคุณโผล่ขึ้นหน้าจอ เวลาที่มีคนค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
    • พยายามรักษาตารางเวลาในการแปะลิ้งค์เชื่อมโยงไปยังวิดีโออื่นๆ ของตัวเองด้วย คอยดูแลจัดการลิ้งค์ต่างๆ ไปยังวิดีโอที่คุณกดไลค์ ในช่วงที่คุณยังไม่ได้อัพโหลดวิดีโอใหม่ๆ เพราะมันจะช่วยคั่นเวลาระหว่างที่คนดูรอคอย ทำให้พวกเขาคอยติดตามอยู่เสมอ
    • เวลาที่จะกดไลค์วิดีโอของคนอื่น ควรแน่ใจก่อนว่า วิดีโอเหล่านั้นจะเป็นที่ชื่นชอบของกลุ่มคนดูตัวเองจำนวนมากที่สุด คุณคงไม่อยากจะไล่คนดูของตัวเองไป ด้วยเหตุที่พวกเขาไม่ชอบวิดีโอที่คุณแนะนำ

ส่วน5
โปรโมชั่น

  1. 1
    จับมือกับคนดูในการนำเสนอผลงาน. พยายามมองหาความร่วมมือกับคนดู ด้วยการเอาความเห็นและวิดีโอที่พวกเขาทำขึ้น มาเชื่อมโยงกับวิดีโอของคุณ และอย่าลืมโพสท์บอกกติกาแก่พวกเขาด้วยว่าต้องทำอย่างไร เช่น ต้องกดติดตามข่าวสารจากช่องยูทูบของคุณ
  2. 2
    ประสานความร่วมมือกับผู้จัดทำเนื้อหารายอื่นๆ. พยายามสานสัมพันธ์กับผู้จัดทำคนอื่นๆ ที่มีแนววิดีโอแบบเดียวกัน โดยอาจจะแลกโปรโมชั่นส่งเสริมกลุ่มคนดูให้กันและกัน รวมถึงเชิญพวกเขามาเป็นแขกในวิดีโอของคุณ และสลับกันบ้าง
    • จงทำให้แน่ใจว่า คนดูของคุณสามารถเข้าถึงช่องของผู้จัดทำที่เป็นพันธมิตรกับคุณได้ คุณต้องทำให้พวกเขาใช้เวลาวนเวียนอยู่กับเนื้อหาที่กลุ่มพันธมิตรของคุณสร้างขึ้น
  3. 3
    ใช้โซเชียลมีเดีย ในการเผยแพร่ตัวตนของคุณ. ลิ้งค์วิดีโอและเพลย์ลิสท์ จากช่องยูทูบของคุณ ไปที่เฟสบุ๊ค กูเกิ้ลพลัส ทวีตเตอร์ และช่องทางสื่อโซเชียลอื่นๆ ด้วย กระตุ้นให้เพื่อนๆ ของคุณ ทั้งในและนอกโลกอนไลน์ ช่วยแชร์ต่อกันไปด้วย
    • หลีกเลี่ยงการส่งลิ้งค์ก่อกวนไปให้เพื่อนๆ ในสื่อโซเชียลดังกล่าว หากส่งนานๆ ครั้งก็ยังโอเค แต่แทบไม่มีใครชอบให้ยัดเยียดลิ้งค์แบบกดดันเลย
  4. 4
    บอกกลุ่มคนดูของคุณ ให้ช่วยบอกต่อกันไป. อย่าไปมัดมือชกพวกเขา แค่ขอความร่วมมือให้ช่วยแชร์ หากพวกเขาชอบมันก็พอแล้ว ข้อความดังกล่าวนี้ควรฝากไว้ในช่วงท้ายของวิดีโอ หลังจากที่เนื้อหาไคลแม็กซ์เพิ่งจบลง จะดีที่สุด อย่าลืมบอกให้พวกเขากด “ไลค์” ด้วย
  • ในระหว่างที่จัดทำช่องยูทูบ ขอให้เลือกชื่อที่จะตั้งให้ดี เพราะคุณจะเปลี่ยนไม่ได้ พยายามตั้งชื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่คุณจะโพสท์ เป็นเอกลักษณ์ และคิดว่าต้องประทับใจคนดู โดยมีความแตกต่างจากชื่อของผู้จัดทำช่องคนอื่นๆ ด้วย ลองเช็คดูว่า มีคนใช้ชื่อดังกล่าวหรือยัง และมีชื่อที่ใกล้เคียงกันอยู่หรือไม่
  • เข้าใจเนื้อหาของวิดีโอที่คุณจะโพสท์ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกคนดูมองว่าคุณเป็นพวกประหลาด ตัวอย่างการตั้งชื่อที่ดี คือ ช่อง Lifesimmer ซึ่งนำเสนอวิดีโอเล่นเกมส์อย่างเดียว และช่อง Pewdiepie ซึ่งเล่นเกมส์หลากหลายประเภท
  • เข้าไปตั้ง ค่าเริ่มต้น ในหน้าการตั้งค่า เพื่อเพิ่มระดับความสม่ำเสมอ และยังเป็นการช่วยยกระดับการเข้าถึงวิดีโอของคุณในชุดคำสั่งของยูทูบด้วย

คำเตือน

  • คุณอาจต้องเจอความเห็นเชิงลบบ้าง แต่อย่าไปใส่ใจ จงทำสิ่งที่คุณตั้งใจทำต่อไป อย่างไรก็ตาม อย่าเหมารวมว่า ความเห็นที่มีประโยชน์จะเป็นเพียงการใส่ไฟคุณ หากมีคนแสดงคำวิจารณ์เชิงลบกับวิดีโอตอนใด คุณก็ควรนำไปรับปรุงเพื่อทำวิดีโอใหม่ให้ดีกว่าเดิม
  • เช็คให้แน่ใจว่า วิดีโอของคุณเป็นไปตามเงื่อนไขของยูทูบ หากวิดีโอใดละเมิดเงื่อนไขนั้น ก็อาจจะถูกลบออก และบัญชีของคุณอาจถูกระงับ จงดูให้แน่ใจว่าทุกอย่างที่อัพโหลดเป็นไปตามกฏของเว็บฯ

บทความที่ได้รับความนิยม